ยินดีต้อนรับสู่องค์การบริาหรส่วนตำบลหนองชัยศรี ติดต่อสอบถาม (ในวันและเวลาราชการ)โทร 044 666 975 (สำนักปลัด) โทร. 044 666 977(กองคลัง)   แจ้งประชาสัมพันธ์ อบต.หนองชัยศรี ได้ออกหน่วยประเมินที่ดินเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ ประจำปี 2561 - 2564 ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ให้เจ้าขอที่ดินที่มีที่ดินในเขตหมู่บ้านนั้นๆ ได้เตรียม สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาที่ดิน สค.1 สปก.4-01 หรือเอกสารสิทธิ์อื่น สำเนาใบซื้อขาย เพื่อรับการประเมินฯ ตามวันและเวลา ที่แจ้งประชาสัมพันธ์ หรือติดต่อสอบถาม โทร. 044 666 975

 




  หน้าแรก   ข่าวย้อนหลัง     รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน) 

รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน)
ข่าวประชาสัมพันธ์  
  องค์ความรู้สืบสานแนวพระราชดำริ เรื่อง สิ่งแวดล้อม  
     

แนวพระราชดำริที่พระราชทานในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรื่องใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดคือ การแก้ไขปัญหาขยะ และน้ำเสีย ที่นับวันจะก่อตัวและทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ที่มีกิจกรรมการผลิตหลากหลาย  เช่น อาคาร ห้างร้าน  โรงงานอุตสหกรรม  บ้านเรือน  ภาคการเกษตร ล้วนมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสียและขยะจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของหลายเมือง ทั้งในด้านของสถานที่กำจัดขยะ  ความรู้และเทคโนโลยีการจัดการ  รวมถึงงบประมาณที่ใช้ในปริมาณสูง 
          ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว  ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้บรรยายเรื่องน้ำเสียและขยะ ในการเสวนา “เกษตรยั่งยืน ฟื้นฟูภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ในงานทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 6 และนิทรรศการปิดทองหลังพระ วันที่ 27 สิงหาคม 2554  ดังนี้
          “น้ำเสีย" จริงๆ แล้วน้ำไม่ได้เสีย แต่มีสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในโมเลกุลของน้ำ การบำบัดน้ำเสีย คือ การขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในโมเลกุลของน้ำออกเสีย ซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธี คือ กระบวนการทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ขึ้นอยู่กับว่าเริ่มต้นด้วยวิธีการไหน ซึ่งทางเราจะเน้นกระบวนการทางด้านชีววิทยาคือการใช้วิธีการทางธรรมชาติมาเยียวยาธรรมชาติมากที่สุด ทำอย่างไรให้แบคทีเรียสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ทั้งในน้ำเสียและในขยะ โดยการสร้างองค์ประกอบอย่างง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ในน้ำเสียจะใช้พืชน้ำเข้ามาช่วยบำบัด จะเป็นจำพวกสาหร่ายเซลเดียว ธูปฤาษี พืชกึ่งบกกึ่งน้ำ หรือบางกรณีใช้พืชลอยน้ำ ในทางฟิสิกส์นั้นน้ำจะหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาด้วยการเคลื่อนที่จากแนวตั้งไปแนวนอน เมื่อน้ำเกิดการระเหยจะทำให้เกิดสมดุล
          "ขยะ" ขยะมีหลายประเภท หลักการคือทำอย่างไรให้ขยะอินทรีย์ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายให้หมดไป ซึ่งจุลินทรีย์ต้องการออกซิเจนเป็นพลังงานในการย่อยสลาย หากไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียก็จะไปดึงออกซิเจนจากสารประกอบที่อยู่ในสารอินทรีย์มาใช้ ทำให้เกิดมีกลิ่นเหม็น   การจัดการขยะตามแนวพระราชดำริ คือ การทำให้ขยะย่อยสลายและเป็นปุ๋ยโดยใช้อากาศ ทรงเน้นย้ำว่าทำอย่างไรคนไทยจึงจะแยกขยะ และนำขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยหมัก นำเอาส่วนที่เป็นขยะรีไซญเคิลมาประดิษฐ์เป็นวัสดุของใช้ และแปรสภาพขยะอันตรายให้ไม่มีพิษ”
          กล่าวโดยสรุป แนวพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม จะใช้แนวทาง  “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ”   ซึ่งแนกเป็น 2 ด้าน คือ การจัดการน้ำเสีย และการกำจัดขยะ 

การจัดการน้ำเสีย

          การจัดการน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ   ได้หลักการ "น้ำดีไล่น้ำเสีย"    หลักการบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา    ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ      ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด  และ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"  ซึ่งมีสาระโดยสรุปดังนี้คือ
          1)    การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย  ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจางและใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) หลักการคือ ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไปและช่วยให้น้ำเน่าเสียมีสภาพเจือจางลง ยกตัวอย่างในกรุงเทพฯ ให้รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาหรือจากแหล่งน้ำภายนอกส่งไปตามคลองต่างๆ   ดังพระราชดำรัสเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในอำเภอธัญบุรี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  "…แต่ ๓,๐๐๐ ไร่นั่นมันอยู่สูง จะนำน้ำโสโครกจากที่นี่ไปที่โน้นต้องสูบไปไม่ไหว แต่ว่าจะทำเป็นบึงใหญ่ที่จะเก็บน้ำได้สำหรับเวลาหน้าน้ำมีน้ำเก็บเอาไว้ หน้าแล้งก็ปล่อยลงมา ส่วนหนึ่งอาจปล่อยลงมาสำหรับล้างกรุงเทพ ได้เจือจางน้ำโสโครกในคลองต่างๆ…"
          2)    เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ  เป็นการใช้ผักตบชวาในปริมาณที่เหมาะสมทำหน้าที่ดูดซับความสกปรก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย ตามหลัก “อธรรมปราบอธรรม” มีตัวอย่างการนำมาใช้ที่บึงมักกะสัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบบึงมักกะสันเป็นเสมือนไตของกรุงเทพฯ เป็นสถานที่กำจัดสิ่งสกปรกในน้ำเน่าเสียที่ไหลตามคลองสามเสนให้ผ่านการกรองโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนระบายไปยังคลองสามเสนและคลองแสนแสบ 
          3)    สระเติมอากาศชีวภาพบำบัด  เป็นการจัดการน้ำเสียโดยใช้เครื่องจักรกลเติมอากาศมาช่วยเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำ ซึ่งใช้ออกซิเจนตามธรรมชาติจากพืชน้ำและสาหร่าย โดยได้นำมาทดลองใช้ที่บึงพระราม 9 ด้วยการสูบน้ำจากคลองลาดพร้าวเข้าในบ่อเติมอากาศ เพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียโดยปฏิกิริยาแบบการให้ออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจะไหลไปยังบ่อกึ่งไร้อากาศเพื่อบำบัดสารอินทรีย์ที่หลงเหลือในบ่อน้ำ ก่อนปล่อยทิ้งในคลองลาดพร้าวเดิม ผลปรากฎว่าคุณภาพน้ำในคลองดีขึ้น
          4)    การผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ โดยใช้ธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยี โดยการก่อสร้างบ่อดักสารแขวนลอย ปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อใช้ดับกลิ่น และปลูกผักตบชวาเพื่อดูดสิ่งสกปรกและโลหะหนัก จากนั้นใช้กังหันชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศให้กับน้ำเสียตามความเหมาะสม ตลอดจนให้ตกตะกอนก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำ โดยนำมาทดลองที่หนองสนม จังหวัดสกลนคร ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าคุณภาพน้ำในหนองสนมใสสะอาดยิ่งขึ้น
          5)    หลักธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ   คือการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและพืชน้ำ ประกอบด้วย ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบบ่อชีวภาพ ระบบหญ้ากรอง  และระบบบำบัดน้ำเสียโดยป่าชายเลน ดังเช่น โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี  นอกจากนี้ ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาทดลองวิจัยดูว่า จะใช้ปลาบางชนิดกำจัดน้ำเสียได้หรือไม่ ปลาเหล่านี้น่าจะเข้าไปกินสารอินทรีย์ในบริเวณแหล่งน้ำเสีย ซึ่งปรากฎว่าปลาบางสกุลมีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่น ปลากระดี่ ปลาสลิด เหมาะแก่การเลี้ยงในน้ำเสีย และชอบกินสารอินทรีย์ จึงช่วยลดมลภาวะในแหล่งน้ำ วิธีการนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดน้ำเสียได้ ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่ง
          6)    การเติมอากาศโดยใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา  ซึ่งมีใบพัดเคลื่อนน้ำและซองรับน้ำไปสาดกระจายเป็นฝอย เพื่อให้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ทำให้ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว  และในช่วงที่น้ำเสียถูกยกขึ้นมากระจายสัมผัสกับอากาศตกลงไปยังผิวน้ำ จะทำให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไป ก่อให้เกิดการถ่ายเทออกซิเจนอีกส่วนหนึ่ง  ซึ่งกังหันน้ำชัยพัฒนาจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสานและการทำให้เกิดการไหลตามทิศทางที่กำหนด
 
การกำจัดขยะ

          จากกระแสพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลว่า
“สิ่งโสโครกจากบ้านเรือนที่ให้เทศบาลสูบไป มักนำไปปล่อยลงคลอง ลงแม่น้ำ ถ้าหาที่แห่งหนึ่งนอกเมือง ทำถังหมักสิ่งโสโครกไว้ 10 วัน สิ่งที่เป็นสิ่งโสโครกก็หายโสโครก เชื้อโรคอะไรก็หมดไป ถ้าให้ดีเอาไว้ 28 วัน ให้มันจริงๆจังๆ พวกเชื้อที่ร้ายแรงที่ยังมีอยู่ก็หมด แม้แต่กลิ่นก็หายหมด เสร็จแล้วเอามาตากใช้ประโยชน์ได้ ทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นน้ำเป็นปุ๋ยที่ไม่เหม็น เทศบาลต่างๆ ที่มีปัญหานี้ก็ต้องพยายามพิจารณาว่าจะทำอะไรต่อไป”
          จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้น นายสาโรจน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการนนทบุรีในขณะนั้น จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำแนวทางตามโครงการ พระราชดำริฯ มาดำเนินการต่อ เพื่อแก้ปัญหาการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ยังไม่ถูกสุขลักษณะ อันเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
          ด้วย สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 นนทบุรี ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ให้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง “บ่อหมักสิ่งปฏิกูล” ตามแนวพระราชดำริ ขนาดความจุ 15 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 32 บ่อ ณ วัดสวนแก้ว จ. นนทบุรี ซึ่งพระอาจารย์พยอม กัลยาโณ ได้ให้ความอนุเคราะห์พื้นที่



ประกาศโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลเบญจขร
วันที่ประกาศ : 2555-06-21

ตุลาคม 2561
อา พฤ
30 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31 1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
วันที่ 22 ตุลาคม 2561
ออนไลน์ทั้งหมด 1 คน
หมายเลข IP 58.9.118.15
คุณเข้าชมลำดับที่ 1,886,329

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด



 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองชัยศรี
อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
Tel : 0 4466 6975 , 0 4466 977  Fax : 0 4466 6977
Copyright © 2008 by OPSTECH All Right Reserved.